“เจมส์ เว็บบ์” จับภาพ “แผงคอ” ของเนบิวลาหัวม้าสุดคมชัด

“เนบิวลาหัวม้า” (Horsehead Nebula) ถือเป็นหนึ่งในวัตถุอวกาศซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ด้วยลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มฝุ่นและก๊าซที่ก่อตัวจนเป็นเหมือนหัวของม้าที่โผล่พ้นเมฆขึ้นมา

แต่ภาพที่ทุกคนคุ้นเคยเป็นภาพที่ถูกถ่ายด้วยภารกิจยยูคลิด (Euclid) หรือไม่ก็กล้องโทรทรรศน์อวกาสฮับเบิล (Hubble) แต่ล่าสุดกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ขององค์การนาซาได้ใช้กล้องอินฟราเรดจับภาพที่คมชัดที่สุดจนถึงปัจจุบันของเนบิวลาหัวม้ามาให้เราชมกัน

โดย เจมส์ เว็บบ์ ซูมเข้าไปยังบริเวณส่วนบนของ “แผงคอม้า” หรือขอบของเนบิวลาชื่อดังนี้ในมุมมองใหม่ทั้งหมด จับภาพความซับซ้อนด้วยความละเอียดเชิงพื้นที่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

เนบิวลาหัวม้าอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ทางซีกด้านตะวันตกของบริเวณหนาแน่นที่เรียกว่าเมฆโมเลกุล Orion B เนบิวลาหัวม้ากำเนิดขึ้นมาจากคลื่นฝุ่นและก๊าซที่ปั่นป่วน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,300 ปีแสง

เนบิวลานี้ก่อตัวขึ้นจากเมฆมวลสารระหว่างดวงดาวที่กำลังยุบตัว และสว่างขึ้นเพราะได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ร้อนที่อยู่ใกล้ ๆ โดยเมฆก๊าซที่อยู่รอบ ๆ หัวม้าได้สลายไปแล้ว แต่เสาที่ยื่นออกมานั้นมีลักษณะเป็นก้อนหนา ดังนั้นจึงสลายไปได้ยากกว่า นักดาราศาสตร์ประเมินว่าเนบิวลาหัวม้ามีเวลาเหลือประมาณ 5 ล้านปีก่อนที่มันจะสลายตัวไปจนหมด

มุมมองใหม่ของ เจมส์ เว็บบ์ มุ่งเน้นไปที่ขอบที่ส่องสว่างด้านบนของโครงสร้างฝุ่นและก๊าซอันเป็นเอกลักษณ์ของเนบิวลาหัวม้า และด้วยการใช้กล้องอินฟราเรดระยะกลาง (MIRI) เจมส์ เว็บบ์ สามารถจับแสงเรืองแสงของสสารต่าง ๆ เช่น ซิลิเกตที่มีฝุ่นและโมเลกุลคล้ายเขม่าที่เรียกว่าโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

เนบิวลาหัวม้าเป็นบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่มีการสลายตัวด้วยแสง (Photodissociation Region; PDR) ในบริเวณดังกล่าว แสงอัลตราไวโอเลตจากดาวฤกษ์มวลมากอายุน้อยจะสร้างพื้นที่ก๊าซและฝุ่นที่อบอุ่นและเป็นกลางเป็นส่วนใหญ่ ระหว่างก๊าซไอออไนซ์ที่ล้อมรอบดาวฤกษ์มวลมากกับเมฆที่ดาวฤกษ์ดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นมา รังสียูวีนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อเคมีของพื้นที่เหล่านี้และทำหน้าที่เป็นแหล่งความร้อนที่สำคัญ

บริเวณเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อก๊าซระหว่างดวงดาวมีความหนาแน่นเพียงพอที่จะคงความเป็นกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่หนาแน่นเพียงพอที่จะป้องกันการทะลุผ่านของแสงยูวีจากดาวฤกษ์มวลมากคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

แสงที่ปล่อยออกมาจากพื้นที่ที่มีการสลายตัวด้วยแสงเป็นเครื่องมือพิเศษในการศึกษากระบวนการทางกายภาพและเคมีที่ขับเคลื่อนวิวัฒนาการของสสารระหว่างดวงดาวในดาราจักรของเราและทั่วทั้งจักรวาล ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการก่อตัวดาวฤกษ์อันทรงพลังจนถึงปัจจุบัน

เนบิวลาหัวม้าเป็นเป้าหมายในอุดมคติสำหรับนักดาราศาสตร์ในการศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของ PDR และวิวัฒนาการระดับโมเลกุลของก๊าซและฝุ่นภายในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงระหว่างเนบิวลา

ด้วยความที่รังสียูวีจากดาวฤกษ์มวลมากอายุน้อยเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเคมีภายในเนบิวลา บริเวณนี้ถือเป็นบริเวณที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับการศึกษาว่ารังสีจากดวงดาวมีปฏิสัมพันธ์กับสสารระหว่างดาวอย่างไรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เรียบเรียงจาก NASA

ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ลอตเตอรี่ 2/5/67

ประกาศเตือนฉบับที่ 3 “พายุฤดูร้อน” 32 จังหวัดเตรียมรับมือ 3-4 พ.ค.

อาหารแก้อ่อนเพลีย-เหนื่อยง่าย เติมความสดชื่น จากการขาดวิตามินบางชนิด