อย่าตกใจ! ถ้าแบงก์เล็กในสหรัฐล้มอีก ยันไม่เกิดวิกฤติการเงิน

นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดเผยว่า ปัญหาธนาคารของสหรัฐที่ถูกปิดกิจการและปัญหาธนาคารในยุโรป เป็นแค่ระดับธนาคารไม่ใช่ภาพรวมทั่วโลก โดยยืนยันความสามารถและเสถียรภาพระบบการเงินโลกยังดีอยู่ แม้จะมีความตึงตัวมีมากขึ้นจากดอกเบี้ยที่สูง แต่ยังไม่ใช่วิกฤติเศรษฐกิจ หรือไม่ใช่วิกฤติการเงิน เหมือนกับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งหลังจากนี้อาจเห็นธนาคารรายเล็กๆในสหรัฐอาจเกิดปัญหามากขึ้น แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะไม่ใช่ปัญหาเชิงระบบ และไม่ต้องกังวลความเชื่อมโยงระบบการเงินไทยมีระดับต่ำ

ทั้งนี้ ยอดเงินฝากในไทยที่เป็นรายย่อยมีมากถึง 9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 65% แต่ถ้าเป็นภาคธุรกิจมี 35% ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ เงินฝากที่เป็นครัวเรือน อยู่ในประเภทออมทรัพย์ และกระแสรายวัน ซึ่งกระจายตัวดี เป็นการใช้จ่ายเยอะ มั่นใจไม่เจอแบบซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ที่มีลูกค้าเงินฝากเป็นภาคธุรกิจสูงถึง 65% ทำให้เมื่อถอนเงินจะเป็นก้อนใหญ่จึงเกิดปัญหา

นายนริศ กล่าวว่า ทีทีบี ได้ปรับเพิ่มประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 66 ขึ้นมาที่ 29.5 ล้านคนจาก 22.5 ล้านคน โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนและเอเชีย ส่วนตัวเลขการส่งออกสินค้าในปี 66 จะติดลบ 0.5% เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวและความผันผวนในภาคการเงินต่างประเทศ จึงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวที่ 3.4%

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีกทั้งไทยมีทุนสำรองที่อยู่ในระดับสูง สำหรับระบบธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันยังมีความแข็งแกร่งทั้งในด้านฐานเงินฝากที่มีคุณภาพและสินทรัพย์สภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง ด้านเงินกองทุนและเงินสำรองอยู่ในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง, อัตราส่วนเงินสำรองที่มีอยู่ต่อเอ็นพีแอลอยู่ในระดับที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค  ในขณะที่สัดส่วนเอ็นพีแอลของไทยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 65

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ หนี้ครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับสูง และสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเติบโตค่อนข้างเร็ว เมื่อทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ภาระหนี้ของกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มรายได้น้อย กลุ่มเกษตรกร และภาคธุรกิจขนาดเล็ก ที่ยังจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อพยุงระดับการบริโภคและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประกอบธุรกิจครัวเรือน อีกทั้ง มาตรการดูแลลูกหนี้ทั้งในส่วนของประชาชนและภาคธุรกิจที่กำลังทยอยหมดลงนับแต่เดือน เม.ย.จนถึงสิ้นปี 66 นี้ อาจเป็นปัจจัยกดดันให้ลูกหนี้ที่เปราะบางจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือต่อไป

“หนี้ครัวเรือนต้องระวัง ตอนนี้ดูสินเชื่อบ้าน และรถไม่ได้โตแรง และชะลอลงด้วยซ้ำ แต่โตแรงคือสินเชื่อบุคคล แบงก์ชาติเรียกว่าสินเชื่อไม่มีหลักประกัน เป็นเรื่องจับตาดูต้องกังวล ขณะที่การปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีเอ็นพีแอลเลยก็ไม่ดี เพราะธนาคารไม่รับความเสี่ยงเลย คนเข้าถึงยาก ปล่อยสินเชื่อแต่คนที่มีเงินไม่มีความเสี่ยง ซึ่งระดับเอ็นพีแอล 2.7% ต่ำขนาดนี้พอใช้ได้”คำพูดจาก เว็บสล็อต

นายนริศ กล่าวว่า ไทยควรมองหาตลาดส่งออกสินค้าที่ยังมีศักยภาพเติบโต เช่น กลุ่มตะวันออกกลาง อินเดีย และกลุ่มอาเซียน และมาตรการบรรเทาค่าครองชีพแก่กลุ่มครัวเรือนและดูแลกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่เปราะบาง เช่น มาตรการลดค่าครองชีพในหมวดสินค้าจำเป็น มาตรการช่วยเหลือค่าน้ำค่าไฟฟ้า มาตรการช่วยผ่อนคลายต้นทุนของธุรกิจเอสเอ็มอี และมาตรการทางการเงินและสินเชื่อจากภาคสถาบันการเงินเพื่อดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเป็นรายกรณี เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง